คำนวณบีทียูแอร์

Posted on Posted in รอบรู้เรื่องแอร์

การคำนวณหา   ขนาดของเครื่องปรับอากาศที่จะใข้งาน    อย่างง่ายๆ

สำหรับ   ที่อยู่อาศัย   อพาร์ทเม้นท์  คอนโดมีเนียม  ห้องเช่า  อาคารพานิชย์  หรือ  สำนักงาน  ทั่วไป

ค่า ความสามารถทำความเย็น   (  Coolling Capacity  )     มีหน่วยวัด    เป็น       บีทียู/ชม.  BTU/HR

ค่า  บีทียู/ชม.    BTU/HR         เป็นหน่วยวัดความสามารถในการทำความเย็น  ของอุปกรณ์ทำความเย็นทุกชนิด  โดยคิดจาก

”  ปริมาณความร้อนที่สามารถละลาย  ก้อนน้ำแข็ง น้ำหนัก  1  ตัน ให้ละลายได้หมดภายในเวลา  1  ชั่วโมง  ”

และกำหนดให้          12,000  BTU/HR         =        1       TON

การคำนวณหาขนาดเครื่องปรับอากาศ

1.     พื้นที่ขนาดของห้อง

ห้องพัก ที่อยู่อาศัยทั่วไป  จะใช้เกณฑ์  ความสูงฝ้าเพดาน  2.50  เมตร   ถ้าสูงกว่านี้ควรปรึกษาช่างผู้ชำนาญ

ความกว้าง          X         ความยาว              =                พ.ท. ห้อง   /    ตารางเมตร  Sq.m

2.    เกณฑ์อ้างอิง    บีทียู/ชม.     ต่อ    ขนาด พื้นที่ห้อง /  ตารางเมตร

เกณฑ์อ้างอิง           ยุโรป   อเมริกา   ออสเตรเลีย               700   btu/hr        :         1       Sq.m

จีน  ญี่ปุ่น  เกาหลี                                  800  btu/hr        :         1       Sq.m

ไทย                                                    1,000  btu/hr         :         1       Sq.m

3.   ตัวอย่างการหาขนาดเครื่องปรับอากาศ

ห้องนอน  ขนาด    กว้าง  3   เมตร      X    ยาว   4   เมตร     ความสูงฝ้าเพดาน   2.50  เมตร   บุฉนวนกันความร้อน

ขนาดพื้นที่ห้อง                                           =                3  m           X        4  m         =            12  Sq.m

ขนาด  บีทียู/ชม.  ที่ต้องการใช้                  =      1,000  btu          X       12  Sq.m   =   12,000  btu/hr

Aircondition   Wall Type  ( ติดผนัง )   ในท้องตลาด

9,000  btu/hr,    13,000 btu/hr    18,000 btu/hr, 24,000 – 30,000  btu/hr

ขนาดเครื่องปรับอากาศที่ควรเลือกใช้งาน

13,000  btu/hr

ตัวแปรเพิ่มเติม  สำหรับการคำนวณหาค่า  บีทียู  ( ในกรณีที่ต้องการความละเอียด )

*    จำนวนคนที่อยู่ประจำในห้อง

*     ค่าความร้อนจาก แสงสว่าง  อุปกรณ์สำนักงาน เครื่องจักร

*     ค่าสัมประสิทธิ์ความร้อนของผนังห้อง  ฝ้าเพดาน  หน้าต่าง

*     ทิศทาง ตำแหน่ง ที่ตั้ง ห้อง หรือ  อาคาร  ต่อ แสงแดด และกระแส

การเลือก  ขนาดเครื่องปรับอากาศให้ พอดี

1     วัตถุประสงค์  การใช้งาน  เช่น  ห้องรับประทานอาหาร   ห้องรับแขก  หรือห้องประชุม  ที่มีช่วงใช้งานสั้น  แต่ต้องการเย็นเร็ว  อาจจะต้องเลือกขนาดของเครื่องปรับอากาศให้  บีทียู  สูงกว่า  มาตรฐาน  เพราะ   ถ้าต่ำไป   กว่าแอร์จะเย็น   แขกก็กลับ  ประชุมเสร็จแล้ว

2.   แบบ  ชนิด  การติดตั้ง   เช่น  ห้องนอน  ควรเป็น  Wall Type    สำนักงาน  ควรเป็น   Ceiling or   Cassette  Type

3.   ข้อเสีย   เครื่องปรับอากาศ  ใหญ่เกินไป

3.1     ราคาเครื่องปรับอากาศ และ ค่าติดตั้งแพงเกินความจำเป็น

3.2    สิ้นเปลืองค่ากระแสไฟฟ้า

3.3    ขนาดใหญ่เกินพื้นที่  อาจจะทำให้ความสวยงามของห้องลดน้อยลง

4.   ข้อเสีย   เครื่องปรับอากาศ  เล็กเกินไป

4.1   ทำความเย็นได้ช้า  และเย็นไม่ดี

4.2   อายุการใช้งานสั้น  ซ่อมบ่อย

4.3   ชุดคอนเตนซิ่ง  ทำงานตลอด  อาาจะทำให้สิ้นเปลืองค่าพลังงานไฟฟ้ามากขึ้น

 

จะรู้ได้อย่างไรว่า  เครื่องปรับอากาศของคุณ  สามารถทำความเย็นได้ เต็มที่  กี่  บีทียู ?
1.    ดูจากป้าย  ( Name Plate )  ที่เขาติดไว้ข้างตัว  คอยล์ร้อน  หรือ  คอยล์เย็น

2.    ดูจาก  รุ่น  (  Model  )  ของคอมเพรสเซ่อร์   Compressor  แล้วไปเทียบในตาราง  Manufacturer Specification

ว่าคอมเพรสเซ่อร์  รุ่นนี้สามารถทำความเย็นได้เท่าไหร่   โดยดูจาก  Cooling Capacity

3.   ค่าที่ได้มา  เป็นค่าทดสอบมาตรฐานการผลิด  การที่ Compressor จะทำงานได้เต็มประสิทธิภาพนั้น   ตัวแปรดังต่อไปนี้มีส่วน

สำคัญ

3.1     เทคนิคการออกแบบเชิงวิศวกรรมของผู้ผลิต

3.2    คุณภาพและประสิทธิภาพของวัสดุที่นำมาผลิด  Fan Coil & Condensor Coil

3.3    เทคโนโลยีด้านการควบคุมอุณหภูมิของผู้ผลิต  System & Temp. Control

3.4     มาตรฐานของการติดตั้ง ของช่าง

 

หมายเหตุ

     แอร์ดี  

สายไฟเล็ก  ขันข้อต่อไม่แน่น  ท่อน้ำยาบาง  เดินท่อผิดหลักวิศวกรรม   บรรจุน้ำยาเกิน – น้ำยาขาด   ระบบสกปรก  ทำสูญญากาศไม่ได้ตามเกณฑ์กำหนด  ( ใช้เครื่องมือราคาถูก )   เพียงเท่านี้   แอร์ดี ก็กลายเป็น  แอร์ไร้คุณภาพ   เย็นไม่ดี   ซ่อมบ่อย  คอมเพรสเซ่อร์ไหม้ก่อนเวลาดันควร   ไฟฟ้าลัดวงจ