คุณภาพชีวิต ( Life Style )
ปัจจุบันนี้ เครื่องปรับอากาศ ได้เข้ามาเป็นส่วนสำคัญในส่วนของ ที่อยู่อาศัย อาคาร บ้านเรือน สำนักงาน โรงงานอุตสาหกรรม ฯลฯ นอกจากจะทำให้เรารู้สึกถึง ความสะบายเมื่ออยู่ในอาคารที่มีการปรับอุณภูมิอย่างเหมาะสมแล้ว ยังมีส่วนช่วยในการกำจัดฝุ่นละอองและฟอกอากาศให้สะอาดได้ในระดับหนึ่ง
การเลือกซื้อ เครื่องปรับอากาศ ต้อง คำนึงถึงสิ่งใดบ้าง ? นี่น่าจะเป็นคำถามต้นๆสำหรับผู้ที่จะเลือกหาเครื่องปรับอากาศ ใช่ไหมครับ
ข้อคิดสำหรับการเลือกซื้อ เครื่องปรับอากาศ
1. วัตถุประสงค์ การใช้งาน เช่น ห้องนอน ห้องรับแขก ห้องอาหาร ห้องประชุม สำนักงาน โรงงานอุตสาหกรรม ฯลฯ
2. ขนาดของเครื่องปรับอากาศ ที่ต้องการใช้ เช่น บีทียู/ชม. BTU/HR ( 1 ตัน TON = 12,000 ตัน btu/hr )
2.1 การคำนวณหา พ.ท. ห้อง ตารางเมตร ( Sq.m )
2.2 การคำนวณหา ค่า บีทียู BTU ที่ต้องการใช้
3. ชนิด หรือ แบบ ของเครื่องปรับอากาศ เช่น ติดผนัง wall type, ติดเพดาน ceiling type, ฝังฝ้าเพดาน suspens type ฯลฯ
4. ยี่ห้อ หรือ ผู้ผลิต เช่น Mitsubishi, Daikins, LG, Sumsung, Carrier, York etc.
4.1 คุณภาพและ ประสิทธภาพ เช่น มาตรฐาน มอก. ค่า ERR ฉลากประหยัดไฟ No. 5
4.2 ราคา ( ควรคำนึงถึงคุณภาพเป็นหลัก )
หลักการคำนวณหาขนาดเครื่องปรับอากาศ ที่ต้องการใช้งาน
( ข้อมูลต่อไปนี้ ใช้สำหรับการหา ขนาดเครื่องปรับอากาศ อย่างง่ายๆ สำหรับบุคคลทั่วไป เพื่อใช้ประกอบการหาซื้อเครื่องปรับอากาศสำหรับ ที่พักอาศัย อาคารบ้านเรือน และสำนักงาน ขนาดเล็กเท่านั้น )
2. 1. การคำนวณหา พื้นที่ห้อง เป็น ตารางเมตร Sq.m
ความกว้าง X ความยาว = 0.00 ตารางเมตร Sq.m
2.2. การคำนวณหาค่า บีทียู/ชม. BTU/HR ( British Thermal Unit : 12,000 BTU/HR = 1 TON )
เนื่องจากประเทศไทยเราอยู่ในเขตร้อน ในปัจจุบันมีแนวโน้มของอุณภูมิที่สูงขึ้น ทำให้ การใช้ค่าอ้างอิง ของ ยุโรป อเมริกา หรือ ประเทศในแถบเอเชีย ที่มีอุณภูมิเย็นกว่าเรา อาจจะทำให้การหาค่าเครื่องปรับอากาศคลาดเคลื่อนจากความเป็นจริง ผู้เขียนจึงขอแนะนำค่าอ้างอิง ดังต่อไปนี้ เพื่อเป็นแนวทางประกอบการพิจารณา
ค่าอ้างอิง ยุโรป อเมริกา ออสเตรเลีย 700 BTU/HR : 1 Sq.m
จีน ญี่ปุ่น เกาหลี 800 BTU/HR : 1 Sq.m
ไทย 1,000 BTU/HR : 1 Sq.m
ตัวอย่าง ขนาดห้องนอน กว้าง 4 เมตร ยาว 4 เมตร ( ที่ความสูงฝ้าเพดาน 2.50 เมตร ถ้าเป็นห้องติดหลังคา หรือ อาคารชั้นเดียว ต้องบุด้วย ฉนวนกันความร้อน )
ความกว้าง X ความยาว = 0.00 Sq.m
4 X 4 = 16.00 Sq.m
ค่า บีทียู/ชม. BTU/HR เท่ากับ
16.00 Sq.m X 1,000 BTU/HR = 16,000 BTU/HR
ขนาดของเครื่องปรับอากาศ ตามมาตรฐานทั่วไปในท้องตลาด สำหรับ เครื่องปรับอากาศในห้องนอนหรือสำนักงาน
9,000 btu/hr
12,000 – 13,000 btu/hr
17,500 – 18,000 btu/hr
24,000 – 30,000 btu/hr
ขนาดของเครื่องปรับอากาศที่ ควรเลือกซื้อใช้งาน คือ 17,500 – 18,000 btu/hr
ข้อเสีย ของการที่เลือกใช้เครื่องปรับอากาศ ที่ บีทียู น้อยเกินไป ก้ำกึ่ง หรือ ผิดวัตถุประสงค์
1. ทำความเย็นได้ช้า ( เจ้าของจะรู้สึกเย็นช้า หรือเย็นไม่ฉ่ำ )
2. สิ้นเปลืองพลังงานไฟฟ้า คอมเพรสเซ่อร์ทำงานนานกว่าจะเย็นจนตัด
3. อายุการใช้งาน สั้นกว่ามาตรฐาน ซ่อมบ่อย
5. การติดตั้งเครื่องปรับอากาศ และ บริการหลังการขาย
5.1 การติดตั้งเครื่องปรับอากาศ
การติดตั้งที่เครื่องปรับอากาศ ที่ถูกต้องและได้มาตรฐานตามหลัก วิศวกรรมการปรับอากาศ โดยช่างที่มีความรู้ความชำนาญงาน และเป็นมืออาชีพ จะมีข้อดีและข้อเสียดังนี้
การติดตั้งโดยช่างอาชีพ ตามมาตรฐานวิศวกรรม
1. เครื่องปรับอากาศ ทำงานเต็มประสิทธิภาพ
1.1 ตำแหน่ง คอยล์เย็น – ร้อน วางถูกต้อง ทำให้การระบายอากาศเต็มประสิทธิภาพ
1.2 วัสดุ – อุปกรณ์ เพิ่มเติม มี คุณภาพ ตามมาตรฐานวิศวกรรม
1.3 การติดตั้ง ยึดจับ แข็งแรง ปลอดภัย และสวยงาม
2. ประหยัดค่าพลังงานไฟฟ้า และ ค่าซ่อมแซมก่อนเวลา
3. งานเสร็จตามหมายกำหนดการ และ ควบคุมค่าใช้จ่ายได้
4. อายุการใช้งาน ได้ตามมาตรฐาน
5. รับผิดชอบในงาน ผลงาน เวลา ค่าใช้จ่าย
6. สร้างความมั่นใจแก่ลูกค้า ด้านความปลอดภัย ( มีที่อยู่ติดต่อ ประวัติ ชัดเจน ถาวร ตรวจสอบได้ )
การติดตั้งโดยช่างที่ขาดความชำนาญ ( สมัครเล่น หรือ ขาดความรับผิดชอบ )
1. เครื่องปรับอากาศอาจจะทำงานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ เช่น เย็นช้า เย็นไม่ดี
2. การติดตั้งไม่ถูกต้องตามมาตรฐานวิศวกรรม อาจจะทำให้ เครื่องปรับอากาศมีอายุการใช้งานที่สั้นลง
3. การติดตั้งที่ใช้วัสดุด้อยคุณภาพ หรือ ไม่ถูกต้อง อาจจะทำให้เกิดอุบัติเหตุ เช่น ไฟฟ้าลัดวงจร เพลิงไหม้ คอลย์ร้อน
หรือ คอยล์เย็น หลุดจากที่ตั้ง น้ำยารั่วก่อนกำหนดมาตรฐาน
4. ไม่รับผิดชอบงาน ทิ้งงาน
5.2 การบริการหลังการขาย ( สอบถามจากตัวแทนจำหน่าย )
5.2.1 การบริการซ่อม ตรวจเช็ค ในระยะเวลาประกัน ( ตามเงื่อนไข ผู้ผลิตและผู้ติดตั้ง )
5.2.2 การบริการล้างทำความสะอาด ในระยะ 1 ปี ( ตามเงื่อนไข ผู้ติดตั้ง )
หมายเหตุ
การติดตั้งและซ่อมบำรุงเครื่องปรับอากาศและอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้า จากช่างที่ขาดความรับผิดชอบ ขาดประสพการณ์ ขาดมาตรฐานทางวิศวกรรม อาจจะนำมาซึ่ง อันตรายและความสูญเสียได้มากกว่าที่คิด